ลงประกาศฟรี
ค้นหาประกาศ

‘รี-อีสาน’ผ้าไหมมือสอง แชมป์ไทยใส่สบาย’65

สํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรรม (วธ.) จัดการประกวดออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมสมัย “ไทยใส่สบาย” ประจำปี 2565 ภายใต้โจทย์การนำผ้าไทย มาใช้เป็นวัตถุดิบสร้างสรรค์ ผลงานออกแบบให้เป็นเครื่องแต่งกาย ร่วมสมัย เพื่อให้เห็นว่าผ้าไทยนำมาตัดเย็บ ให้สวยงามสวมสบายใส่ได้ทุกกลุ่มไม่ว่า จะเป็นวัยรุ่น วัยทำงาน และบุคคลทั่วไป

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่ามีผลงานส่งเข้าร่วมประกวด 88 ผลงานจากทั่วประเทศ ผ่านการคัดเลือกโดยคณะกรรมการซึ่งเป็นดีไซเนอร์มืออาชีพระดับแถวหน้าของไทยจนเหลือ ผลงานที่โดดเด่น 12 ผลงานในรอบสุดท้าย เว็บแทงบอล ก่อนประกาศผลการพิจารณา 5 รางวัล ดังนี้

รางวัลชนะเลิศ นายนรบดี ศรีหะจันทร์ ภายใต้แนวคิด “รี-อีสาน” นำปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะเสื้อผ้ามาเป็น “แฟชั่น หมุนเวียน” สร้างสรรค์ด้วยการอัพไซคลิ่งโดยการรับซื้อและนำผ้าไหมมือสองและเศษผ้าไหมที่เหลือจากการตัดเย็บจากชาวบ้านในท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์มาทำคอลเล็กชั่น “รี-อีสาน” เพื่อประโยชน์ทั้งด้านความยั่งยืน การลดจำนวนขยะที่เกิดจากเสื้อผ้าสิ่งทอ ราคาประหยัดเข้าถึงได้ ผ่านการออกแบบจากความคิดสร้างสรรค์และเป็นเอกลักษณ์

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายไอสยา โอวาท ภายใต้แนวคิด “มานะ มานี ปิติ ชูใจ” ผลงานการออกแบบจากแบบเรียนวิชาภาษาไทยที่อยู่ในความทรงจำจวบจนทุกวันนี้ โดยนำความเป็นไทยในยุคต้นกำเนิดมาถ่ายทอดเรื่องราวผ่านผ้าไหมแต้มหมี่จังหวัดขอนแก่น บ้านหัวฝาก ด้วยเทคนิคการเลเซอร์คัตตัวอักษรเนื้อหา การเรียนการสอน บทเรียนต่างๆ มาเรียง เป็นลายผ้า ชูลายเส้นตัวอักษรไทย พร้อมทั้งออกแบบโครงร่างเสื้อผ้าจากตัวละคร มานะ มานี ปิติ ชูใจ ดัดแปลงให้ทันสมัยแต่ไม่ทิ้งทรวดทรงการแต่งกายเหมือนตัวละครในหนังสือเรียน

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายรัฐพล ทองดี นำผ้าจากผู้ประกอบการ เก๋ บาติก มาออกแบบภายใต้แนวคิด “ความสวยงามของคนตาบอด” ดิไอคอนกรุ๊ป จากความทรงจำหรือจินตนาการที่แปลงเป็นภาพในความคิด

รางวัลชมเชย นายฬียฑา ชลิตณัฐกุล นำผ้าบาติกของภาคเหนือและภาคใต้จากกลุ่มผู้ประกอบการ เก๋ บาติก และ AKARA BATIK มาผสมผสานด้วยเทคนิคฟรีแฮนด์ภายใต้แนวคิด “AFTER LIFE ความเชื่อหลังความตาย” และ นายธนกานต์ พันธุ์สุข ที่นำผ้าฝ้ายและผ้าใยกัญชงทอมือของผู้ประกอบการในจังหวัดลำปางมาสร้างสรรค์ภายใต้แนวคิด “ฮักหนา ก๋าไก่”

ผลงานการออกแบบทั้งหมดจัดแสดงทางเว็บไซต์ สศร. www.ocac.go.th, YouTube และเฟซบุ๊ก สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ทุกผลงานทุกกระบวนการคือการกลั่นกรอง คัดสรรความงดงามของผ้าไทยผสมผสานกับฝีมือนักออกแบบเครื่องแต่งกายรุ่นใหม่ อันจะนำไปสู่ก้าวสำคัญของการเดินทางของผ้าไทย ถ่ายทอดความงดงามและความยิ่งใหญ่ของมรดกไทยสู่สายตาชาวโลก